เมนู

ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิปติธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.
5. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

คำอธิบายทั้งสองอย่างนี้ เหมือนกับคำอธิบายตามบาลีตอนต้น ไม่มี
แตกต่างกัน พึงกระทำทั้งอารัมมณาธิปติ และสหชาตาอธิปติ.
6. ธรรมที่เป็นจิต และธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัย
แก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ แม้ทั้ง 3 วาระ (วาระที่7 - 9)
ธรรมที่พึงทำให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ก็เป็นอารัมมณาธิปติ
อย่างเดียว.

4. อนันตรปัจจัย


[64] 1. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จิตที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
2. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่เป็นจิต
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่จิตที่เกิด
หลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
จิต เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
3. ธรรมที่เป็นจิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต และ
ธรรมที่ไม่ใช่จิต ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิต ที่เกิดหลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่จิต
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่จิตที่เกิดก่อน ๆ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
แม้ 2 วาระเหล่านั้น (วาระที่ 5 - 6) พึงกระทำโดยบริบูรณ์ เหมือน
กับข้อความตามบาลีที่มีอยู่ตอนต้น.
7. ธรรมที่เป็นจิต และธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัย
ธรรมที่เป็นจิต ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
.
คือ จิตที่เกิดก่อน ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิต
ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย ฯลฯ
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 8)
จิตที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย
ที่ไม่ใช่จิตที่เกิดหลังๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

จิต และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 9)
จิตที่เกิดก่อน ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิด
หลัง ๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย เป็นปัจจัย ด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย

มี 5 วาระ เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 5 วาระ
เหมือนกับปฏิจจวาระ.
เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย มี 5 วาระ เหมือนกับ
ปัจจยวาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[65] 1. ธรรมที่ไม่ใช่จิต เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นจิต ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
จิต เป็นปัจจัยแก่จิต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ.
(วาระที่ 1 - 2 - 3)